เว็บไซต์เป็นเครื่องทางการตลาดที่สำคัญมาก เพราะสามารถทำ Funnel Marketing ได้ การทำธุรกิจออนไลน์นั้น จริงๆแล้วเราไม่ต้องมีเว็บไซต์ก็ได้ แต่เราจะต้องทุ่มเงินจำนวนมาก เพื่อซื้อโฆษณา โดยที่ไม่มีครัวกลาง
สารบัญ
1.ประโยชน์ของการมีเว็บไซต์
ประโยชน์ของเว็บไซต์มีอยู่มากมายครับ นำเสนอสิ่งที่เราต้องการแบ่งปัน แชร์เรื่องราวต่างๆ หรือ ใช้ทำการตลาดออนไลน์ ติด Pixel เพื่อยิงโฆษณาหาลูกค้าได้ทุกแพลตฟอร์ม เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเรา สร้างโอกาสการสร้างรายได้มากขึ้น
- ช่องทางการสร้างรายได้จากเว็บไซต์
- ใช้สร้างร้านค้าออนไลน์เพื่อขายสินค้า
- สร้างคอนเทนต์ให้คนสนใจเยอะๆ แล้วรับลงโฆษณา
- สร้างคอนเทนต์เฉพาะทาง แล้วรับสปอนเซอร์จากสินค้านั้นๆ
- สร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับโรงงานผู้ผลิต
- สร้างเว็บไซต์รีวิวสินค้า บริการ หรือ ร้านอาหาร เพื่อรวมกลุ่มลูกค้าให้ผู้ประกอบการ
- สร้างเว็บไซต์รีวิวเพื่อทำ Affiliate
- สร้างรายได้จากการ รับจ้างสร้างเว็บไซต์ หรือ เป็นฟรีแลนซ์
2.ค่าใช้จ่ายในการสร้างเว็บขายของ
ในการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ มันคือการสร้างร้านค้าขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชม มาเลือกซื้อสินค้า เหมือนกับการที่เราสร้างหน้าร้านจริงๆขึ้นมาในโลกออฟไลน์ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องลงทุนครับ เพื่อให้ได้หน้าร้านค้าที่สวยงาม และน่าเชื่อถือ
ค่าใช้จ่ายสร้างเว็บด้วย WordPress
- ค่าจดโดเมน ราคาแล้วแต่นามสกุลของโดเมน และอยู่กับเจ้าที่ให้บริการจดโดเมนด้วย ราคา .com 400-600 บาท
- ค่าเช่าโฮสติ้ง ราคา 1500-3000 บาท (แล้วแต่เจ้า)
- ค่า Theme WordPress หากเราอยากได้เว็บที่สวยงาม และมีประสิทธิภาพ เราต้องใช้ธีมพรีเมี่ยมถูกลิขสิทธิ์ครับ จะได้ทั้งความสวยงาม และความเสถียนของเว็บไซต์ ราคา 2,000 – 2,500 บาท (แล้วแต่ธีม)
- ค่าแพลตฟอร์ม (เครื่องมือสร้างเว็บ) หากเราสร้างเว็บด้วย WordPress.org ตัวนี้ฟรีครับ
- ค่าจ้างทำกราฟฟิค รูปภาพ โลโก้ วีดีโอ หากเราต้องการเรื่องของความสวยงาม ความน่าเชื่อถือ และดูเป็นมืออาชืพ เราจำเป็นต้องจ้างกราฟฟิคมืออาชืพทำรูปให้ครับ ราคา 15,000 – หลายหมื่นหรือหลักแสนบาท
- ค่าจ้างทำเว็บไซต์ อยู่ที่เราต้องการเว็บไซต์แบบไหน และค่าจ้างในการทำเว็บของแต่ละเจ้าก็ไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่ค่าจ้างของ ฟรีแลนซ์ จะราคาถูกกว่าจ้างบริษัทใหญ่ ราคา 15,000 – หลักแสน (แล้วแต่เจ้า)
ตัวอย่างแพคเกจ รับทำเว็บไซต์ - ต้นทุนของเวลา หากเราจ้างทำเว็บ จะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน (แล้วแต่เจ้า)
- ต้นทุนเวลา หากคุณจะศึกษาทำเว็บเอง ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ศึกษาจริงจังตั้งใจ คุณก็จะเริ่มคล่องแล้ว
สรุปราคาสร้างเว็บไซต์ คุณภาพดีๆ
- หากคุณเลือกที่จะจ้างคนอื่นทำเว็บไซต์ให้ ราคาทั้งหมดจะประมาณ 30,000 – 50,000 บาท เป็นอย่างน้อย
- หากคุณจะศึกษาสร้างเว็บด้วยตัวเอง
– ราคาจะอยู่ประมาณ 4,000 – 5,000 บาท (ทำกราฟฟิคเอง)
– ทำเว็บเอง แต่จ้างทำกราฟฟิค ประมาณ 20,000 บาท
โดยรวมแล้วราคาสำหรับการสร้างเว็บจะอยู่ประมาณนี้ แต่ถ้าคุณได้ราคาถูกกว่านี้ ให้ระวังในเรื่องคุณภาพของเว็บไซต์ หรืออาจโดนทิ้งงาน ทำเว็บแล้ว เว็บใช้งานไม่ได้ หรือได้เว็บคุณภาพไม่ดีนะครับ
3.หลักการตั้งชื่อโดเมน 10 ข้อ
1.ควรตั้งชื่อโดเมนเป็นภาษาอังกฤษ
เพราะ เวลาที่เรานำลิงก์ไปแชร์ในที่ต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย ลิงก์ของเราจะได้สวยๆ ไม่ดูเหมือนเป็นสแปม ลิงก์จะประกอบไปด้วย ชื่อโดเมนขึ้นก่อน ตามด้วยชื่อลิงก์ตามหลัง ถ้าหากเราตั้งโดเมนเป็นภาษาไทย นั้นก็แปลว่า ทุกลิงก์ URL ของเว็บไซต์เรา จะมีภาษาไทยอยู่ในลิงก์อย่างแน่นอน เดี๋ยวผมให้ดูตัวอย่างนะครับ
- ลิงก์ที่เป็นภาษาอังกฤษ https://teeoi.com/make-website-wordpress
- ลิงก์ที่มีภาษาไทย http://www.xn--12c7bhs0cxab8bc6ad2u.com/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2
เมื่อนำลิงก์ที่ดูเหมือนสแปมไปแชร์ คนอาจจะไม่กล้าคลิก
แต่ก็มีวิธีแปลงลิงก์ให้ดูสวยงามอยู่ ไปแปลงลิงก์ได้ที่เว็บไซต์ www.bitly.com
2.ควรตั้งชื่อให้สั้นกระชับ
ทำให้ลูกค้าจดจำเว็บไซต์เราได้ง่าย ลองดูตัวอย่างเว็บใหญ่ๆ เช่น sanook kapook lazada shopee facebook youtube google
3.ควรตั้งชื่อให้สะกดง่าย
ตั้งชื่อสั้นๆอ่านง่าย สะกดง่าย ออกเสียงง่าย เพื่อให้ลูกค้าสามารถบอกต่อได้ง่าย ถ้าเกิดการบอกต่อ เราก็อาจจะได้ลูกค้าเพิ่ม
4.ควรตั้งชื่อโดเมน ให้สื่อความหมายกับสินค้าหรือบริการของเรา (ถ้าทำได้)
เพื่อให้ลูกค้าเห็นชื่อโดเมนของเราแล้วรู้เลย ว่าเราทำอะไร ขายสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร
5.ควรเลือกนามสกุล .com เป็นตัวเลือกแรก
นามสกุล .com เป็นนามสกุลยอดนิยมที่สุด คนใช้เยอะที่สุด และคนส่วนใหญ่คุ้นเคย เวลาที่คนค้นหาเว็บไซต์เรา ลูกค้าจะพิมพ์ชื่อโดเมนของเรา และตามด้วย .com เพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับนามสกุลนี้ที่สุด แต่ถ้าชื่อโดเมนนั้นไม่สามารถจดได้ (มีคนจดไปก่อนเราแล้ว) เราก็ใช้นามสกุลอื่นได้ แต่ควรใช้ชื่อโดนเมนที่คุ้นหูคุ้นตา ไม่ควรใช้นามสกุลแปลกๆ ที่เราไม่คุ้น
6.อย่าตั้งชื่อโดเมนไปซ้ำกับเว็บใหญ่
แน่นอนว่าเราสามารถตั้งชื่อโดเมนเหมือนกันได้ โดยการเปลี่ยนนามสกุลโดเมนให้ไม่เหมือนกัน เราไม่ควรตั้งชื่อชนกับเว็บใหญ่ เพราะเราจะทำ Branding SEO ได้ยาก ถ้าเราทำธุรกิจ แน่นอนว่าเราต้อง ทำการตลาด ทำแบรนด์ดิ้ง ถ้าเราทำการตลาดได้ดี แล้วมีคนจำชื่อแบรนด์หรือชื่อโดเมนของเราได้ วันหนึ่งเขาอยากซื้อของกับเรา เขานำชื่อแบรนด์หรือชื่อโดเมนของเราไปค้นหาใน google
แล้วโดเมนของเราดันไปเหมือนกับเว็บใหญ่ ลูกค้าอาจจะหาเว็บเราไม่เจอ เพราะเป็นไปได้ยาก ที่เว็บไซต์เล็กๆหน้าใหม่ จะทำ Branding SEO ให้ขึ้นไปแซงเว็บไซต์ใหญ่ๆที่อยู่มานาน แบบนี้อาจจะทำให้เราพลาดลูกค้าไปได้ครับ
7.ไม่ควรตั้งชื่อเป็นคำ Keyword ตรงๆ
เช่น ที่พักเชียงคาน.com รองเท้าผ้าใบ.com ชุดว่ายน้ำ.com เพราะถ้าหากเราทำ SEO คำ Keyword ที่เราตั้งเป็นชื่อโดเมน ไม่ติดหน้าแรก google ลูกค้าก็จะหาเว็บเราไม่เจอเลย แต่ถ้าเราจดโดเมนเป็นชื่อแบรนด์ เราก็ยังสามารถทำ Branding SEO ให้ลูกค้าค้นเจอเราใน google ได้
8.ไม่ควรตั้งชื่อยาวๆหรือสะกดยาก
เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำและบอกต่อได้ยาก
9.ไม่ควรตั้งชื่อที่โหลเกินไป
เพราะอาจทำให้ทำ seo ได้ยาก เช่น คุณชื่อ สมชาย แล้วคุณตั้งชื่อเป็น สมชาย.com เวลาที่ลูกค้าจะค้นหาเว็บคุณ เขาอาจจะหาเว็บไซต์คุณไม่เจอ
10.ไม่ควรมีเครื่องหมายใน Domain
เช่น som-chai.com เพราะอาจทำให้ลูกค้าสับสน หรือ พิมพ์ผิดได้
***การตั้งชื่อเน้นให้จดจำง่ายเป็นหลักและคำนึงถึงการทำ Brand SEO ด้วยนะครับ***
4.หลักการเลือก Web Hosting WordPress
เว็บไซต์จะมีคุณภาพดีหรือไม่ดี โฮสติ้งมีส่วนสำคัญมาก เปรียบเหมือนกับการเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ เราได้เกมที่ดีมาเล่น แต่ไปเล่นในคอมพิวเตอร์ที่สเปคไม่ดีพอ เกมเราก็จะแลค กระตุก ทำให้เราเสียอารมณ์
เช่นกันครับ ถ้าหากเราเลือกใช้โฮสติ้งที่ไม่ดี เว็บไซต์อาจจะช้าหรือล้มได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผลเสียต่อ SEO และไม่ดีต่อผู้ใช้งานเว็บเป็นอย่างมาก ก่อนที่เราจะเลือกใช้เจ้าไหนดี ผมขอแนะนำให้คุณรู้จักกับสเปคที่ดีของโฮสติ้งก่อน ส่วนใหญ่แล้วสเปคของโฮสติ้ง จะเป็นศัพท์ทางเทคนิค แต่ผมขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ
- ถ้าเป็นมือใหม่ ควรใช้เจ้าให้บริการของคนไทย เพราะถ้าหากเกิดปัญหา เราจะได้ติดต่อเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยแก้ปัญหาได้ง่าย และคุยกันได้รู้เรื่อง
- control panel หรือ ระบบจัดการหลังบ้าน ควรเป็น DirectAdmin หรือ plesk
- Control panel ควรมี Auto installer ที่ช่วยติดตั้ง WordPress เช่น Softaculous ถ้าโฮสมีตัวนี้อยู่ เราจะสามารถติดตั้ง WordPress ได้ง่าย ไม่ต้องไปสร้าง database หรือ FTP ไฟล์ต่างๆเอง
- เวอร์ชั่นของ PHP web server ควรใช้เป็นเวอร์ชั่น PHP 8.0 ขึ้นไป
- มีบริการให้ใช้ SSL (ทำ https) แบบฟรี เราจะได้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อ SSL เพิ่มอีก
- ไม่จำกัดโดเมนและซับโดเมน เราจะสามารถสร้างเว็บไซต์ได้หลายเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเช่าโฮสติ้งใหม่เพิ่มอีก
- ในเรื่องของการจำกัดพื้นที่ ข้อนี้ไม่ต้องกังวน ถ้าเป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง หากเราทำเว็บได้ถูกต้องแล้ว ขนาดของเว็บไซต์จะไม่เกิน 500 MB
- bandwidth การส่งข้อมูลออกไปต่างประเทศ ถ้าโฮสไหนส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศได้ไม่ดี จะเกิดปัญหาอย่างเช่น แชร์ลิงก์ไปเฟสบุ๊ค แล้วรูปไม่ขึ้น (ข้อนี้เราไม่มีทางรู้ จนกว่าเราจะเคยใช้โฮสติ้งของเจ้านั้นๆครับ)
- ถ้าคุณยังไม่รู้จะเลือกโฮสเจ้าไหน ผมแนะนำให้ใช้ โฮสอะตอมครับ ผ่านทุกข้อเลย >>>hostatom.com<<<
5.การใช้งาน WordPress
เมื่อเรารู้ต้นทุนการสร้างเว็บแล้ว ถ้าหากเราต้องการที่จะลองศึกษาสร้างเว็บด้วยตัวเอง ก็สามารถเข้าไปดูวิธีสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ได้เลย ผมได้ทำคู่มือการใช้งาน WordPress ไว้โดยละเอียดแล้ว เพื่อให้ทุกๆท่านที่เข้ามา ดูวีดีโอ อ่านบทความ สามารถสร้างเว็บไซต์ได้
และผมก็ได้สร้างคอร์สสอนสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ขึ้นมา เพื่อให้คุณได้สามารถ สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยคอร์สเรียนจะเป็นการปูพื้นฐานทั้งหมดของ WordPress และสอนแบบ Workshop จับมือทำ ทีละขั้นตอน มือใหม่ก็ไม่ต้องกังวลครับ
6.การใช้งาน Woocommerce
Woocommerce คือ ปลั๊กอินสำหรับสร้างร้านค้าออนไลน์ ซื้อของผ่านเว็บได้ ระบบสมาชิก ระบบแคทตาล็อกสินค้า ระบบหยิบใส่ตระกร้า ระบบชำระเงิน เป็นปลั๊กอินยอดนิยมมากๆ และมีแพกเกจให้ใช้ฟรีอีกด้วย
คุณสมบัติของปลั๊กอิน Woocommerce
- สร้างหน้าแคทตาล็อกสินค้า
- สร้างหน้าระบบ
- สร้างหมวดหมู่สินค้า
- ลงสินค้าแบบปกติ
- ลงสินค้าแบบ เลือกสีไซต์แบบได้
- ลงสินค้าแบบ กรองตามคุณสมบัติของสินค้าได้
- ลงสินค้าแบบ ดาวน์โหลดได้ เช่น Digital product E-Book ซอฟต์แวร์
- ลงสินค้าแบบ External/Affiliate product
- ลงสินค้าแบบ Grouped product
- สร้างระบบหยิบสินค้าใส่ตระกร้า
การชำระเงิน
- สร้างการชำระเงิน แบบโอนด้วยธนาคาร
- สร้างการชำระเงิน แบบพร้อมเพย์
- สร้างการชำระเงิน แบบ PayPal
- สร้างการชำระเงิน แบบเก็บเงินปลายทาง
- สร้างการชำระเงิน แบบจ่ายด้วยบัตรเครดิต
การจัดส่งสินค้า
- คิดค่าจัดส่งคงที่ตามเขตจัดส่งสินค้า
- คิดค่าจัดส่งคงที่ตามผู้ให้บริการ
- ส่งฟรีเมื่อซื้อตามยอดที่กำหนด
- คิดค่าจัดส่งต่อจำนวนชิ้น
- คิดค่าจัดส่งเป็นเปอร์เซนต์จากยอดขาย
- คิดค่าจัดส่งตามกลุ่มสินค้า
- คิดค่าจัดส่งตามน้ำหนัก
- คิดค่าจัดส่งฟรี แบบมีเงื่อนไข
นี้คือคุณสมบัติของปลั๊กอิน Woocommerce ในเวอร์ชั่นฟรี